Skip to main content

ประเด็นการส่งนักฟุตบอลต่างชาติ ลงสนามแข่งขัน ในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก และ ไทยลีกดิวิชั่น 1 ประจำฤดูกาล 2015 กลายเป็นประเด็นปัญหา ถึงความชัดเจนในกฎระเบียบ หลังจาก บีอีซี เทโรศาสน ยื่นร้องประท้วง แบงค็อก ยูไนเต็ด ส่วนนักเตะผิดกฎเกินโค้วต้า และต่อมา ไทยพรีเมียร์ลีก ตัดสินให้ แบงค็อก ยูไนเต็ด แพ้ บีอีซี เทโรศาสน 3-0 ในเวลาต่อมา

ฐานข้อมูล ไทยพรีเมียร์ลีก ขอชวนมาอ่าน กฎระเบียบดังกล่าว ประเด็นการส่งนักฟุตบอลลงทำการแข่งขัน ในไทยพรีเมียร์ลีก ในเอกสาร ข้อบังคับและระเบียบว่าด้วยการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพของประเทศไทย พ.ศ. 2558

บทที่ 5 เรื่อง กฎ กติกา และระเบียบที่ใช้ควบคุมการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ

5. การขึ้นทะเบียนผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ประจำทีมและนักฟุตบอล ตลอดจนชุดที่ใช้แข่งขัน

5.2) จำนวนรายชื่อผู้เล่นในแต่ละทีมขององค์กรสมาชิกกำหนดไว้ดังนี้

(1) รายการไทยพรีเมียร์ลีก ให้ส่งรายชื่อผู้เล่นในทีมได้ไม่เกิน 35 คน ตามแบบฟอร์มที่ "คณะกรรมการ" กำหนด ทั้งนี้ถ้าจะส่งชื่อผู้เล่นชาวต่างชาติด้วยให้ส่งได้ไม่เกิน 5 คน ใน 35 คน

5.3) การส่งรายชื่อผู้เล่นเข้าแข่งขันในแต่ละนัดให้ส่งได้ไม่เกิน 20 คนโดยเป็นผู้เล่นต่างชาติไม่เกิน 5 คน ส่วนเจ้าหน้าที่ส่งได้ไม่เกิน 9 คน ตามแบบฟอร์มที่ "คณะกรรมการ" กำหนด ทั้งนี้ถ้าจะส่งชื่อผู้เล่นชาวต่างชาติจะอนุญาตให้ลงสนามได้ ดังนี้

(1) ไทยพรีเมียร์ลีก ลงได้ 3 คนตลอดการแข่งขัน และให้ลงเพิ่มได้อีก 1 คนในกรณีเป็นผู้เล่นที่มีสัญชาติอยู่ในประเทศสมาชิกของ AFC

(4) การใช้สิทธิผู้เล่นต่างชาติตามจำนวนในข้อ 5.3 (1) แล้ว หากคนใดถูกตัดสินให้ออกจากการแข่งขันไป (ได้รับใบแดง) ผู้เล่นต่างชาติ ในสนามแข่งขัน ต้องลดจำนวนลงไปตามนั้น ไม่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นชาวไทยออกและนำผู้เล่นชาวต่างชาติเข้าไปเล่นเพิ่มได้อีก

ประเด็นคำตัดสิน และ ประเด็นคัดค้าน

คำตัดสินของ ไทยพรีเมียร์ลีก

ผลการตัดสินของ ไทยพรีเมียร์ลีก วินิจฉัยว่า แบงค็อก ยูไนเต็ด ทำผิดกฎข้อ 5.3 (4) โดยอ้างอิง ข้อ 5.3 (1) ประกอบ ที่นับผู้เล่นต่างชาติ "แยกขาด" จากผู้เล่นที่มีสัญชาติอยู่ในประเทศสมาชิกของ AFC ด้วยโควต้า 3+1 ซึ่งในการแข่งขันนัดดังกล่าว หลังจาก คาลิฟา ซิสเซ่ นักเตะต่างชาติของ แบงค็อก ยูไนเต็ด ถูกใบแดงไล่ออกจากสนาม โควต้านักเตะต่างชาติควรจะเป็น 2+1

แต่เมื่อ แบงค็อก ยูไนเต็ด ได้ทำการเปลี่ยนตัว โรแม็ง กัสมี่ ซึ่งเป็นโควต้าต่างชาติ ลงมาแทน เจย์ซี จอห์น อ็อควุนวานเน ที่เป็นโควต้าเอเชีย ทำให้เหลือโควต้าต่างชาติในสนามเป็น 3+0 ซึ่งกลายเป็นข้อวินิจฉัยในเวลาต่อมา

คำคัดค้าน และแนวทางของ แบงค็อก ยูไนเต็ด

ด้าน ขจร เรียรวนนท์ ประธานสโมสร และ มาโน่ โพลกิ้ง หัวหน้าผู้ฝึกสอน ทีมสโมสร แบงค็อก ยูไนเต็ด ยืนยันว่าสโมสร ได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับการแข่งขัน ไทยพรีเมียร์ลีก 2015 โดยยึดระเบียบข้อ 5.2 (1) และ 5.3 ที่นับจำนวนโควต้านักเตะต่างชาติ "รวมกับ" นักเตะต่างชาติที่มีสัญชาติอยู่ในประเทศสมาชิกของ AFC ที่นับรวมเป็น "5 คน" เสมอ

และจากระเบียบข้อ 5.3 (4) จำนวนโควต้านักเตะต่างชาติในสนาม จะเท่ากับ 3+1 = 4 คน และไม่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นคนไทยออกและนำผู้เล่นชาวต่างชาติเข้าไปเพิ่มได้อีก ซึ่งกรณีที่ คาลิฟา ซิสเซ่ ถูกใบแดงให้ออกจากสนาม ทำให้โควต้านักเตะต่างชาติ เหลีอ 3 คน และการส่ง โรแม็ง กัสมี่ ลงมาแทน เจย์ซี จอห์น อ็อควุนวานเน ไม่ทำให้โควต้านักเตะต่างชาติเปลี่ยนแปลง และไม่เข้าเงื่อนไข เปลี่ยนนักเตะไทยออกจากสนามตามระเบียบข้อบังคับฯ

ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด (True Bangkok United)สโมสรฟุตบอล ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด (เปลี่ยนชื่อมาจาก "แบงค็อก ยูไนเต็ด") เริ่มใช้ชื่ออย่างเป็นทางการ…
โปลิศ เทโร เอฟซี สโมสรฟุตบอล โปลิศ เทโร เอฟซี เป็นการเปลี่ยนชื่อสโมสร จากเดิม บีอีซี เทโรศาสน โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทุนตำรวจ…
หมายเหตุ: ดูรายละเอียด ฝ่ายจัดการแข่งขัน ไทยลีก 2016 ได้ที่ บริษัท พรีเมียร์ ลีก (ไทยแลนด์) จำกัด (กุมภาพันธ์ 2559)ส่วนข้อมูลของ บริษัท…
ประธานสโมสร แบงค็อก ยูไนเต็ด
หัวหน้าผู้ฝึกสอน ทีมชาติไทย (แต่งตั้ง 28 กันยายน 2564) ฤดูกาล 2020/21 - หัวหน้าผู้ฝึกสอน โฮจิมินท์ ซิตี้ หัวหน้าผู้ฝึกสอน แบงค็อก ยูไนเต็ด