Skip to main content

ยุคก่อนฟุตบอลสมัยปัจจุบัน

หลังจาก ร.6 ทรงตั้ง ส.ฟุตบอลแห่งชาติสยาม ในปี พ.ศ. 2459 ได้มีการจัดให้มีการแข่งขันฟุตบอลถ้วยใหญ่ (เปลี่ยนเป็น ถ้วย ก) ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2459 และ ครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2460 จากนั้นก็จัดการแข่งขันเรื่อยมาทุกปี (ยกเว้น ปี 2468, 2475-2490 และ 2493 ) ส่วนการแข่งขัน ถ้วยน้อย (ถ้วย ข) เริ่มแข่งขันครั้งแรกในปีพ.ศ. 2459 และจัดแข่งขันเรื่อยมาทุกปี

หมายเหตุ: 25 มิถุนายน 2468 ได่เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลระหว่างชาติ F.I.F.A

ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก

ในสมัยนั้นถูกยกให้เป็นเสมือนลีกสูงสุดของไทย จัดการแข่งขันแบบทัวร์นาเมนต์ ในแต่ละปีใช้วิธีแบ่งกลุ่ม และเข้ารอบไปเล่นรอบน็อกเอาท์จนถึงรอบชิงชนะเลิศ ทีมที่ได้แชมป์ ถ้วย ก จะได้โควต้าตัวแทนประเทศไทยไปแข่งสโมสรระดับเอเชีย จัดการแข่งขันในรูปแบบทัวร์นาเม้นท์ เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2538 เป็นฤดูกาลสุดท้าย หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบันได้เปลี่ยนรูปแบบการแข่งขัน

ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข

(รอเพิ่มข้อมูล)

หมายเหตุ: พ.ศ. 2500 ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย A.F.C

ต่อมาในปี 2505 ส.ฟุตบอล จึงเพิ่มการแข่งขัน ถ้วย ค. และ ถ้วย ง. แบ่งเป็นระบบลีกตามสมัยนิยมแบบอังกฤษ ทำการแข่งขันเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2538

ยุคฟุตบอลลีก (พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน)

พ.ศ. 2539 ไทยแลนด์ ซอคเกอร์ลีก 2539 ฤดูกาลแรก

สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จัดการแข่งขัน ไทยแลนด์ ซอคเกอร์ลีก ประกอบด้วย 18 ทีมจาก ถ้วย ก เดิม โดยเป็นการแข่งขันแบบพบกันหมดเหย้า-เยือน (Double Round-robin League) เพื่อหา 4 อันดับแรกเข้าสู่รอบเพลย์ออฟหาแชมป์ และ 6 อันดับท้ายของตารางจะตกชั้นไปเล่น ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในฤดูกาลถัดไป

พ.ศ. 2540 ไทยลีกดิวิชั่น 1 2540 ฤดูกาลแรก

ก่อตั้ง ไทยลีกดิวิชั่น 1 (หลังจาก ไทยแลนด์ ซอคเกอร์ลีก 1ปี) เพื่อรองรับทีมที่ตกชั้น และรวมกับทีมที่ชนะเลิศ ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข มีทีมเข้าแข่งขัน 10 ทีม และขยายเป็น 12 ทีมตามลำดับ

  • ไทยแลนด์ซอคเกอร์ลีก 12 ทีม จบฤดูกาลอันดับ 12 ตกชั้น / อันดับ 11 ต้องแข่งเพลย์ออฟกับรองแชมป์ ไทยลีกดิวิชั่น 1 เพื่ออยู่รอด
  • ไทยลีกดิวิชั่น 1 ประกอบด้วย 10 ทีม (6 ทีมที่ตกชั้นจากไทยแลนด์ซอคเกอร์ลีก + 4 อันดับแรกจาก ถ้วย ข) ไม่มีการเพลย์ออฟหาแชมป์ ทีมอันดับ 1 ได้เลื่อนชื่น ทีมอันดับ 2 ต้องเพลย์ออฟกับอันดับรองสุดท้าย ไทยแลนด์ซอคเกอร์ลีก

พ.ศ. 2541

พรีเมียร์ลีก 2541 ประกอบด้วย 12 ทีม (อันดับสุดท้ายตกชั้น)

พ.ศ. 2542 เริ่มแข่งขัน โปรลีก

สมาคมฟุตบอล เชิญทีมจากการคัดเลือกทั่วประเทศ มาแข่งขันในรูปแบบลีก โดยเรียกการแข่งขันนี้ว่า โปรวินเชียลลีก

  • พรีเมียร์ลีก 2542 ประกอบด้วย 12 ทีม (2 อันดับสุดท้ายตกชั้น)
  • โปรลีก 2542/43 มีทีมระดับภูมิภาค เข้าแข่ง 12 ทีม

พ.ศ. 2543

พรีเมียร์ลีก 2543 ประกอบด้วย 12 ทีม (ฤดูกาลนี้ไม่มีทีมตกชั้น)

พ.ศ. 2544

  • ไทยลีก 2544/45 ประกอบด้วย 12 ทีม (ตกชั้น 3 ทีม)
  • โปรลีก 2544 ระดับภูมิภาค 12 ทีม

พ.ศ. 2545 กกท เข้ามาดูแลโปรลีก

กกท. เข้ามาดูแล โปรวิลเชียลลีก และเปลี่ยนชื่อเป็นโปรเฟชชั่นนอล ลีก

  • ไทยลีก 2545/46 ประกอบด้วย 10 สโมสร (ตกชั้น 2 ทีม)
  • โปรลีก 2545 แบ่งออกเป็น 2 สายๆ ละ 6 ทีม และเอา 3 ทีมแรก มาแข่งขันรอบ 2

พ.ศ. 2546

  • ไทยลีก 2546/47 ประกอบด้วย 10 สโมสร ตกชั้น 2 ทีม
  • โปรลีก 2546 ประกอบด้วย 12 ทีม จบฤดูกาล มีกำหนด 2 ทีมสุดท้ายตกชั้นไปเล่นโปรลีก 2

พ.ศ. 2547 แยกโปรลีก ออกเป็น โปรลีก 1 และ โปรลีก 2

แบ่งการแข่งขัน โปรลีก ออกเป็น 2 ระดับ คือ โปรลีก 1 และ โปรลีก 2 โปรลีก 1 มีทีมเข้าแข่งขัน 18 ทีม แข่งแบบเหย้า-เยือน และ โปรลีก 2 แข่งตาม 5 ภูมิภาค หาทีมชนะเลิศ 2 ทีม รวมเป็น 10 ทีม

  • ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2547/48 ประกอบด้วย 10 ทีม (ตกชั้น 2 ทีม)
  • โปรลีก 2547 ประกอบด้วย 10 ทีม ตกชั้น 2 ทีม
  • โปรลีก 2 ประกอบด้วย 10 ทีม (ทีมที่ตกชั้นจากโปรลีก 2546 จำนวน 2 ทีม รวมกับแชมป์ และรองแชมป์ จาก 4 ภูมิภาค เหนือ, อีสาน, ใต้, กลาง+ตะวันออก

พ.ศ. 2548

  • โปรลีก 2548 ประกอบด้วย 10 ทีม โดย 2 อันดับแรก ไปแข่งไทยแลนด์ฟรีเมียร์ลีก 2549 และ 2 ทีมล่าง ตกชั้นไปเล่นโปรลีก 2
  • โปรลีก 2 ประกอบด้วย 10 ทีม (ทีมตกชั้นจากโปรลีก 2547 จำนวน 2 ทีม รวมกับแชมป์ และรองแชมป์จาก 4 ภูมิภาค)

พ.ศ. 2549 ยุบโปรลีก 1

ยุบการแข่งขัน โปรลีก 1 โดยไปรวมกับ ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก / ไทยลีกดิวิชั่น 1 และ ไทยลีกดิวิชั่น 2 หลังจากยุบโปรลีก 1 ก็เปลี่ยนชื่อ การแข่งขัน โปรลีก 2 ไปเป็น โปรวินเชียลลีก อีกครั้ง และเริ่มแข่งขัน ไทยลีกดิวิชั่น 2 (ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในเวลาต่อมา)

  • ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2549 ประกอบด้วย 12 ทีม (8 สโมสรเดิม รวมกับ 2 ทีมจากดิวิชั่น 1 และ 2 ทีมจากโปรลีก 2548) และไม่มีการตกชั้น
  • โปรเฟสชันนอลลีก 2549 ประกอบด้วย 16 ทีม จบสุดฤดูกาล ได้ยุบโปรลีก เอา 2 ทีมแชมป์ไปแข่ง ไทยแลนด์ฟรีเมียร์ลีก 2550, ทีมกลางตารางไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 1, 2 ทีมตกชั้นไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 2
  • โปรลีก 2 ประกอบด้วย 10 ทีม 2 ทีมตกชั้นจาก 2548 และ 8 ทีมแชมป์และรองแชมป์จาก 4 ภูมิภาค เอา 2 ทีมไปแข่งไทยลีกดิวิชั่น 1

พ.ศ. 2550

  • ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2550 ประกอบด้วย 16 ทีม (12 ทีมเดิม 2 ทีมจากดิวิชั่น 1 และ 2 ทีมจากโปรลีก) จบฤดูกาล ตกชั้น 4 ทีม
  • ดิวิชั่น 1 2550 รวม 24 ทีม ประกอบด้วย 7 ทีมจากดิวิชั่น 1 2549, 2 ทีมจากดิวิชั่น 2, 11 ทีมจากโปรลก 1, 2 ทีมจาก ถ้วย ข และ 2 ทีมจากโปรลีก 2 โดยจัดการแข่งแบบ 2 สายๆ ละ 12 ทีมเอา 2 อันดับ จากสองสาย มาเตะหาแชมป์ โดยแชมป์ รองแชมป์แต่ละสาย รวม 4 ทีมไปแข่งไทย ลีก, 5 อันดับท้ายของแต่ละสาย ตกชั้นไปดิวิชั่น 2
  • ดิวิชั่น 2 ประกอบด้วย 12 ทีม ประกอบด้วย 8 ทีมที่มาจากดิวิชั่น 2 ฤดูกาลก่อน, 2 ทีมจากดิวิชั่น 1 เมื่อจบฤดูกาล 2 อันดับแรก ไปแข่ง ดิวิชั่น 1 และ 2 ทีมอับดับสุดท้ายไปแข่ง ถ้วย ข
  • โปรลีก 2550 หรือเรียกว่า แซต แชมเปี้ยนชิพ 2550 (โปรลีก 2 เดิม) ระกอบด้วย 10 ทีม จากแชมป์ และรองแชมป์จาก 5 ภาค เหนือ อีสาน ใต้ กลาง ตะวันออก เมื่อจบฤดูกาล เอา 2 ทีม ไปแข่งดิวิชั่น 2

พ.ศ. 2551

  • ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2551 ประกอบด้วย 16 ทีม เมื่อจบฤดูกาล ตกชั้น 3 ทีมไปแข่งดิวิชั่น 1
  • ดิวิชั่น 1 2551 ประกอบด้วย 18 ทีม 10 ทีมเดิม, 4 ทีมจากดิวิชั่น 2 และ 4 ทีมที่ตกชั้นมาจากไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2550 จบฤดูกาล 3 ทีมบนไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก และ 4 ทีมตกชั้นไปแข่งดิวิชั่น 2
  • ดิวิชั่น 2 2551 ประกอบด้วย 22 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย โดยแชมป์ รองแชมป์ แต่ละสาย เลื่อนไปแข่งดิวิชั่น 1 รวม 4 ทีม และตกชั้นสายละ 5 ทีม ไปแข่งโปรวินเชียลีก 6 ทีม ไปแข่ง ถ้วย ข 4 ทีม (รวม 10 ทีม)
  • โปรวินเชียลลีก 2551 แข่งขันขันรอบคัดเลือก 4 กลุ่ม (11+10+13+8 รวมทั้งสิ้น 42 ทีม) เอาแชมป์ รองแชมป์ ของแต่ละกลุ่มรวม 8 ทีม แข่งขันแบบ 2 สายๆ ละ 4 ทีม จากนั้นหาแชมป์แบบน็อกเอาท์

พ.ศ. 2552 เริ่มใช้ระบบภูมิภาค ในการแข่งระดับดิวิชั่น 2

ไทยลีกดิวิชั่น 1 ประกาศเพิ่มทีมเข้าแข่งขันเป็น 18 ทีม เป็นฤดูกาลแรก ที่ไทยลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 แข่งขันแบบแยกภูมิภาค เหนือ อีสาน กลาง+ตะวันออก กทม และ ใต้ แล้วนำแชมป์มาแข่งแบบมินิลีก

  • ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 ประกอบด้วย 16 ทีม จบฤดูกาล เอา 3 ทีมตกชั้น
  • ไทยลีกดิวิชั่น 1 2552 ประกอบด้วย 16 ทีม (10 ทีมเดิม, 2 ทีมจากไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก, 3 ทีมจากดิวิชั่น 1 และ 1 ทีมจากการเพลย์ออฟ (ทีมตกชั้นฤดูกาลที่แล้ว) จบฤดูกาล 3 ทีมบน ไปแข่งไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 3 ทีมล่างไปแข่ง ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
  • ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 2552 เอาแชมป์ 5 สายมาแข่งแบบมินิลีก อันดับ 1-3 ได้ไปแข่ง ดิวิชั่น 1

พ.ศ. 2553

  • ไทยพรีเมียร์ลีก 2553 ประกอบด้วยทีม 16 ทีม เมื่อจบฤดูกาลเอา 3 ทีมตกชั้น
  • ไทยลีกดิวิชั่น 1 2553 ประกอบด้วย 16 ทีม ก่อนเปิดฤดูกาลมีการเล่นเพลย์ออฟ หา 4 ทีมเข้าร่วมแข่งขัน จบฤดูกาลเอา 3 ทีมบน ไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก () และ 4 ทีมล่าง ไปเล่น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
  • ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอาแชมป์ และรองแชมป์ 5 สาย + 2 ทีมอันดับสาม ดีที่สุด จากทุกสาย รวมเป็น 12 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย เมื่อจบฤดูกาลแข่งขัน เอาอันดับ 1-2 ของแต่ละสายขึ้นไปไทยลีกดิวิชั่น 1 และ อันดับ 3-4 ของแต่ละสายไปเพลย์ออฟกันทีมจาก ไทยลีกดิวิชั่น 1 (สระบุรี, เจดับบริว และ บางกอก เอฟซี)

พ.ศ. 2554

  • ไทยพรีเมียร์ลีก 2554 ประกอบด้วย 18 ทีม เพิ่มจากเดิม 2 ทีม โดยใช้การเพลย์ออฟคัดเลือก จบฤดูกาล เอา 3 ทีมตกชั้น
  • ไทยลีกดิวิชั่น 1 ประกอบด้วย 18 ทีม คือ 10 ทีมกลางตารางเดิม รวมกับ 1 ทีมจากไทยพรีเมียร์ลีก และ 7 ทีมจากลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 จบฤดูกาลเอา 3 ทีมบนไปแข่งไทยพรีเมียร์ลีก และ 4 ทีมล่าง ตกชั้นไปลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
  • ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอาแชมป์ และรองแชมป์ 5 สาย + 2 ทีมอันดับสาม ดีที่สุด จากทุกสาย รวมเป็น 12 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย เอาอันดับ 1-2 ของแต่ละสายไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 1

พ.ศ. 2555

  • ไทยพรีเมียร์ลีก 2555 ประกอบด้วย 18 ทีม จบฤดูกาลเอา 3 ทีมตกชั้น
  • ไทยลีกดิวิชั่น 1 รวม 18 ทีม (จากกลางตารางเดิม 11 ทีม รวมกับ 3 ทีมจากไทยพรีเมียร์ลีก และ 4 ทีมจากลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอา 3 อันดับ บนไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก และ 5 อันดับล่างไปเล่นลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 (ปกติตก 4 ทีม แต่ปัญหาเรื่องนครปฐม ทำให้ต้องตกชั้น 5 ทีม เปิดทางในนครปฐม กลับมาแข่งดิวิชั่น 1 ฤดูกาลหน้า)
  • ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอาแชมป์ และรองแชมป์ 5 สาย + 2 ทีมอันดับสาม ดีที่สุด จากทุกสาย รวมเป็น 12 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย เอาอันดับ 1-2 ของแต่ละสายไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 1

พ.ศ. 2556 ดิวิชั่น 2 ขยายเป็น 6 โซน

ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ได้ขยายโซนภูมิภาค เป็น เหนือ อีสาน กทม+กลาง กลางตะวันออก กลางตะวันตก และ ใต้

  • ไทยพรีเมียร์ลีก 2556 ประกอบด้วย 18 ทีม แต่ปัญหาเรื่องศรีสะเกษ กับอีสาน ยูไนเต็ด ทำให้ เหลือตกชั้น 1 ทีม โดยในฤดูกาลหน้าจะเพิ่มทีมเป็น 20 ทีม
  • ไทยลีกดิวิชั่น 1 2556 ประกอบด้วย 18 ทีม เอา 3 อันดับบนไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก และ 4 อันดับล่างไปเล่นลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
  • ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอาแชมป์ และรองแชมป์ 6 สาย รวมเป็น 12 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย เอาอันดับ 1-2 ของแต่ละสายไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 1

พ.ศ. 2557

  • ไทยพรีเมียร์ลีก 2557 ประกอบด้วย 20 ทีม จบฤดูกาล เอา 5 ทีมตกชั้น เพื่อลดให้เหลือ 18 ทีมตามเดิม
  • ไทยลีกดิวิชั่น 1 ประกอบด้วย 18 ทีม เอา 3 อันดับบนไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก และ 4 อันดับล่างไปเล่น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
  • ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอาแชมป์ และรองแชมป์ 6 สาย รวมเป็น 12 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย เอาอันดับ 1-2 ของแต่ละสายไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 1

พ.ศ. 2558

  • ไทยพรีเมียร์ลีก 2558 ประกอบด้วย 18 ทีม จบฤดูกาล เอา 3 ทีมตกชั้น
  • ไทยลีกดิวิชั่น 1 ประกอบด้วย 20 ทีม เอา 3 อันดับบน ไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก และ เอา 6 อันดับล่างไปเล่น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 (เพื่อลดให้เลือก 18 ทีมตามเดิม)
  • ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอาแชม์ และ รองแชมป์ 6 สาย (อันดับ 3 อีสาน เพลย์ออฟ กับ รองแชมป์ใต้) รวม 12 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย เอาอันดับ 1-2 ของสายไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 1

หมายเหตุ: ในปี พ.ศ. 2558 มีปัญหาความวุ่นวายเกิดขึ้นหลายอย่าง อาทิ บีอีซี เทโรศาสน อันดับ 16 ตกชั้น แต่สระบุรี เอฟซี อันดับ 14 ขอถอนทีม ทำให้ บีอีซี เทโรศาสน ได้แข่งไทยพรีเมียร์ลีกต่อไป

พ.ศ. 2559

ภายหลังการเลือกตั้งนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 สมยศ พุ่มพันธ์ุม่วง ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น นายกสมาคมฯ คนใหม่

ข้อมูลการแข่งขันต่างๆ มีปัญหาการส่งมอบข้อมูล ทำให้สภากรรมการชุดใหม่ ตัดสินใจ จัดตั้ง 3 บริษัทใหม่ เพื่อดำเนินการแข่งขันของฟุตบอลใน 3 ระดับได้แก่ บริษัท พรีเมียร์ ลีก (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท ไทยลีกดิวิชั่น 1 จำกัด และ บริษัท ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 จำกัด

  • ไทยลีก 2016 (จัดการแข่งขัน ภายใต้ บริษัท พรีเมียร์ ลีก (ไทยแลนด์) จำกัด) มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 18 ทีมสโมสร เมื่อจบฤดูกาลแข่งขัน เอา 3 ทีมอันดับสุดท้าย ตกชั้น 3 ทีม
    • ก่อนการแข่งขัน
      • สโมสร สระบุรี เอฟซี - ประกาศถอนทีม เพราะมีปัญหาด้านการเงิน
      • สโมสร บีอีซี เทโรศาสน - ที่ตกชั้นจาก ไทยพรีเมียร์ลีก 2015 ได้สิทธิกับมาแข่งขัน แทนสโมสร สระบุรี เอฟซี ในการแข่งขัน ไทยลีก 2016
      • สโมสร เพื่อนตำรวจ - แชมป์ ไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2015 ไม่ผ่านคลับไลเซนซิ่ง เพราะมีปัญหาค้างค่าจ้างนักกีฬา ทำให้ถูกระงับการแข่งขัน ไทยลีก 2016 เป็นเวลา 1 ปี และจะสามารถกลับมาแข่งขัน ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล 2016 หากแก้ปัญหาดังกล่าวได้
    • จบฤดูกาล
      • เนื่องจากการสวรรคตของ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ในเดือนตุลาคม 2560 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตัดสินใจยุติการแข่งขันภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมฯ ทั้งหมด โดยให้มีผลในการจัดอันดับ หาทีมชนะเลิศทันที ทั้งนี้ ไทยลีก 2016 เหลือการแข่งขัน อีก 3 นัด
        • แชมป์ - เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
        • รองแชมป์ - แบงค็อก ยูไนเต็ด
        • อันดับ 3 - บางกอกกล๊าส เอฟซี
        • ตกชั้น 3 ทีม
          • ชัยนาท ฮอร์นบิล
          • อาร์มี่ ยูไนเต็ด
          • บีบีซียู เอฟซี
  • ไทยลีกดิวิชั่น 1 2016 (บริษัท ไทยลีกดิวิชั่น 1 จำกัด) มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 16 ทีมสโมสร เมื่อจบฤดูกาลแข่งขัน 3 ทีม อันดับ 1-2-3 ได้สิทธิเลื่อนชั้นไปแข่งขัน ไทยลีก ฤดูกาลหน้า และ 1 ทีม อันดับสุดท้าย ตกชั้นไปแข่งขัน ดิวิชั่น 2
    • ก่อนการแข่งขัน
      • เดิมทีการแข่งขัน ไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2016 จะมีทีมเข้าแข่งขัน 18 แต่เนื่องจากปัญหาคลับไลเซนซิ่ง ของสโมสรเพื่อนตำรวจ, สระบุรี เอฟซี และการได้สิทธิของ บีอีซี เทโรศาสน รวมถึงสโมสร พิจิตร เอฟซี, อยุธยา เอฟซี และ ภูเก็ต เอฟซี ก็ไม่ผ่าน คลับไลเซนซิ่ง ในการแข่งขันไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2016
    • จบฤดูกาล
      • แชมป์ - ไทยฮอนด้า
      • รองแชมป์ - อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด
      • อันดับ 3 - การท่าเรือ เอฟซี
      • ไม่มีทีมตกชั้น เนื่องจาก ขอนแก่น ยูไนเต็ด ถูกตัดสิทธิการแข่งขันของสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ทุกรายการ จากปัญหาการทำร้ายกรรมการ ภายหลังเกมการแข่งขัน ทำให้ ไทยลีก ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2016 เหลือทีมเข้าแข่งขันเพียง 15 ทีม จึงไม่มีทีมตกชั้น
  • ไทยลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 (บริษัท ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 จำกัด) แบ่งการแข่งขันออกเป็น 8 โซน เอาทีมแชมป์และรองแชมป์ ในการแข่งขันฤดูกาลปกติ มาจับสลากประกบคู่ แข่งแบบเหย้า-เยือน น็อคเอาท์ เพื่อคันหา 3 ทีม แชมป์-รองแชมป์-อันดับ 3 เลื่อนชั้นไปแข่ง ดิวิชั่น 1 และ ทีมอันดับสุดท้ายของแต่ละโซน ตกชั้นไปแข่ง ดิวิชั่น 3

พ.ศ. 2560 ปรับโครงสร้าง ไทยลีก 1-4

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การดำเนินงานของ สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมฯ ได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันใหม่ทั้งหมด โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ไทยลีก 1, ไทยลีก 2, ไทยลีก 3 (ประกอบด้วย 2 โซนการแข่งขัน) และ ไทยลีก 4 (ประกอบด้วย 6 โซนการแข่งขัน) โดยทั้งหมดอยู่ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท ไทยลีก จำกัด

  • ไทยลีก 1 ฤดูกาล 2017 มีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 18 ทีมสโมสร เมื่อจบฤดูกาลแข่งขัน ทีมชนะเลิศ จะได้สิทธิไปแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบแบ่งกลุ่ม และ อันดับที่ 2 ได้สิทธิแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบคัดเลือก ส่วน 3 ทีมอันดับสุดท้าย ตกชั้นไปแข่งขัน ไทยลีก 2 ในฤดูกาลหน้า
    • แชมป์ - บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
    • รองแชมป์ - เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
    • ตกชั้น 3 ทีม ได้แก่
      • อันดับ 16 - ไทยฮอนด้า
      • อันดับ 17 - ศรีสะเกษ เอฟซี
      • อันดับ 18 - ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ
  • ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2017 มีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 18 ทีมสโมสร เมื่อจบฤดูกาลแข่งขัน ทีมชนะเลิศ, อันดับ 2 และ อันดับ 3 ได้สิทธิเลื่อนชั้น แข่งขัน ไทยลีก 1 ในฤดูกาลหน้า ส่วน 3 อันดับสุดท้าย ตกชั้น ไปแข่งขัน ไทยลีก 3 ต่อไป
    • ในระหว่างการฤดูกาลแข่งขัน สโมสรฟุตบอล บีบีซียู เอฟซี ที่ตกชั้นมาจาก ไทยลีก 2016 ตัดสินใจ ถอนทีมจากการแข่งขัน ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2017 ทำให้เหลือทีมแข่งขันเพียง 17 ทีมเท่านั้น
    • ในช่วงท้ายฤดูกาล สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ประกาศตัดสิทธิการแข่งขันในฤดูกาลหน้า ของ สโมสรฟุตบอล นครปฐม ยูไนเต็ด และ สโมสรฟุตบอล สมุทรสงคราม เอฟซี เนื่องจากไม่ดำเนินการส่งเอกสารขออนุญาตสโมสร (คลับไลเซนซิ่ง) ทำให้ต้องตกชั้น ไปแข่งขัน ไทยลีก 4 ในฤดูกาลหน้า
    • สโมสรฟุตบอล ตราด เอฟซี ถูก FIFA ตัดสิน ให้สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ตัด 3 คะแนน จากปัญหาการยกเลิกสัญญานักกีฬาอย่างไม่เป็นธรรม
    • จบการแข่งขัน
      • แชมป์ - ชัยนาท ฮอร์นบิล
      • รองแชมป์ - แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล เอฟซี
      • อันดับ 3 - ประจวบ เอฟซี
      • ตกชั้น (ปกติ) 2 ทีม
        • อันดับ 16 - สงขลา ยูไนเต็ด
        • อันดับ 17 - บางกอก เอฟซี
      • ตกชั้น (ไม่ผ่านคลับไลเซนซิ่ง) 2 ทีม
        • นครปฐม ยูไนเต็ด
        • สมุทรสงคราม เอฟซี
  • ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2017 แบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 โซน
    • โซนบนขอประเทศ
    • โซนล่างของประเทศ
      • ทีมที่ได้สิทธิเลื่อนชั้น ไปแข่งขัน ไทยลีก 2 ในฤดูกาลหน้า จำนวน 3 ทีม ได้แก่
        • สมุทรสาคร เอฟซี
        • ขอนแก่น เอฟซี
        • อุดรธานี เอฟซี
  • ไทยลีก 4 ฤดูกาล 2017 แบ่งการแข่งขันออกเป็น 6 โซน
    • โซนภาคเหนือ
    • โซนภาคตะวันออกเฉียงเหลือ
    • โซนภาคตะวันตก
    • โซน กทม. และปริมณฑล
    • โซนภาคตะวันออก
    • โซนภาคใต้

พ.ศ. 2561

  • ไทยลีก 1 ฤดูกาล 2018
    • ไทยลีก 1 ฤดูกาล 2018 ประกาศว่า เมื่อจบการแข่งขัน จะมีทีมตกชั้นทั้งสิ้น 5 ทีม เพื่อให้การแข่งขัน ไทยลีก ฤดูกาล 2019 มีทีมสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน 16 ทีม
    • ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 18 สโมสร
      • การท่าเรือ เอฟซี, ชัยนาท ฮอร์นบิล, ชลบุรี เอฟซี, ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด, นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี, บางกอกกล๊าส เอฟซี, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, โปลิส เทโร เอฟซี, พีที ประจวบ เอฟซี, พัทยา ยูไนเต็ด, ราชนาวี, ราชบุรี มิตรผล เอฟซี, สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด, สุพรรณบุรี เอฟซี, สุโขทัย เอฟซี, อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด, เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด, แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล
    • แชมป์
      • อันดับ 1 - บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (ไปแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบแบ่งกลุ่ม)
      • อันดับ 2 - ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด (ไปแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบคัดเลือก)
    • ตกชั้น 5 ทีม
      • บางกอกกล๊าส เอฟซี
      • โปลิส เทโร เอฟซี
      • ราชนาวี
      • อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด
      • แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล
  • ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2018
    • ปัญหาคลับไลเซนซิ่ง
      • นครปฐม ยูไนเต็ด และ สมุทรสงคราม เอฟซี ถูกปรับตกชั้น ไปแข่งขัน ไทยลีก 4
      • สงขลา ยูไนเต็ด ถูกปรับตกชั้น ไปแข่งขัน ไทยลีก 3
      • จัมปาศรี ยูไนเต็ด (เปลี่ยนชื่อมาจาก ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ) ถูกแบน 2 ปี ปรับตกชั้นไป ไทยลีก 4
    • ทีมเข้าร่วมแข่งขัน 15 ทีม
      • พีทีที ระยอง, ตราด เอฟซี, เชียงใหม่ เอฟซี, ขอนแก่น เอฟซี, หนองบัว พิชญ เอฟซี, อุดรธานี เอฟซี, ลำปาง เอฟซี, ศรีสะเกษ เอฟซี, อาร์มี่ ยูไนเต็ด, สมุทรสาคร เอฟซี, ระยอง เอฟซี, ไทยฮอนด้า ลาดกระบัง, เกษตรศาสตร์ เอฟซี, กระบี่ เอฟซี, อ่างทอง เอฟซี
    • แชมป์ เลื่อนชั้น
      • แชมป์ - พีทีที ระยอง
      • อันดับ 2 - ตราด เอฟซี
      • อันดับ 3 - เชียงใหม่ เอฟซี
    • ตกชั้น 2 ทีม
      • อันดับ 14 - กระบี่ เอฟซี
      • อันดับ 15 - อ่างทอง เอฟซี
  • ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2018
    • ไทยลีก 3 ตอนบน มีทีมเข้าแข่งขัน 14 ทีมสโมสร
      • กาฬสินธุ์ เอฟซี, กำแพงเพชร เอฟซี, เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด, ฉะเชิงเทรา ไฮเทค, เชียงราย ซิตี้, นาวิกโยธิน ยูเรก้า เอฟซี, บางกอก เอฟซี, แพร่ ยูไนเต็ด, เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด, ลำพูน วอริเออร์, สระแก้ว เอฟซี, อยุธยา ยูไนเต็ด, อยุธยา เอฟซี, อุบลราชธานี เอฟซี
      • แชมป์
        • อันดับ 1 - เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด (เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2)
        • อันดับ 2 - อยุธยา ยูไนเต็ด (เพลย์ออฟ)
      • ตกชั้น
        • อันดับ 14 - กาฬสินธุ์ เอฟซี
    • ไทยลีก 3 ตอนล่าง มีทีมเข้าแข่งขัน 14 ทีมสโมสร
      • จามจุรี ยูไนเต็ด, ทหารบก เอฟซี, ดับบลิวยู นครศรี ยูไนเต็ด, เดฟโฟ เอฟซี, ตรัง เอฟซี, นรา ยูไนเต็ด, บีทียู ส.บุญมีฤทธิ์ ยูไนเต็ด, แกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด, ราชประชา, ภูเก็ต ซิตี้, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, ศุลกากร ยูไนเต็ด, สุราษฎร์ เอฟซี, สีหมอก เอฟซี
      • แชมป์
        • อันดับ 1 - ศุลกากร ยูไนเต็ด (เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2)
        • อันดับ 2 - นรา ยูไนเต็ด (เพลย์ออฟ)
      • ตกชั้น
        • อันดับ 14 - เดฟโฟ เอฟซี
    • เพลย์ออฟเลื่อนชั้น
      • ผลการแข่งขัน อยุธยา ยูไนเต็ด VS นรา ยูไนเต็ด, อยุธยา ยูไนเต็ด ชนะ 1 นัด เสมอ 1 นัด ได้สิทธิเลื่อนชั้น
    • สรุปทีมเลื่อนชั้น ไปแข่งขัน ไทยลีก 2
      • เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด
      • ศุลกากร ยูไนเต็ด
      • อยุธยา ยูไนเต็ด
  • ไทยลีก 4 ฤดูกาล 2018
    • แบ่งการแข่งขันออกเป็นภูมิภาค และทีมที่ได้อันดับ 1-2 (รวมถึงอันดับ 3 บางโซน) มาแข่งขัน รอบแชมเปี้ยนส์ลีก เพื่อหาทีมได้สิทธิเลื่อนชั้น
    • สโมสรเข้าร่วมการแข่งขั้นทั้งหมด 60 ทีม
    • โซนภาคเหนือ 7 ทีม
      • อุตรดิตถ์ เอฟซี (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), น่าน เอฟซี (เพลย์ออฟ), พิษณุโลก เอฟซี, นครแม่สอด ยูไนเต็ด, สิงห์บุรี บางระจัน, นครสวรรค์ เอฟซี (ตกชั้น), สุโขทัย เอฟซี บี
    • โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 ทีม
      • เมืองเลย ยูไนเต็ด (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), ขอนแก่น ยูไนเต็ด (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), ยโสธร เอฟซี (เพลย์ออฟ), สุรินทร์ ซิตี้, ศรีสะเกษ ยูไนเต็ด, หนองบัว พิชญ เอฟซี บี, มาแชร์ ชัยภูมิ เอฟซี, สุรินทร์ซูก้า โขงชีมูล, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บี, มหาสารคาม เอฟซี, สกลนคร เมืองไทย เอฟซี, นครราชสีมา ห้วยแถลง ยูไนเต็ด, เลย ซิตี้ อาร์แอร์ไลน์ (ตกชั้น), อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด บี
    • โซนตะวันออก 10 ทีม
      • บ้านค่าย ยูไนเต็ด (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), จันทบุรี เอฟซี (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), ปลวกแดง ระยอง ยูไนเต็ด (เพลย์ออฟ), กองเรือยุทธการ, สายมิตรกบินทร์ ยูไนเต็ด, อีสาน ดีบีซออร่า พัทยา, นครนายก เอฟซี (ตกชั้น), ชลบุรี เอฟซี บี, ราชนาวี, พัทยา ยูไนเต็ด
    • โซนตะวันตก 9 ทีม
      • นครปฐม ยูไนเต็ด (เข้ารอบแชมเปี้ยส์ลีก), สพล. สมุทรสาคร ยูไนเต็ด (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), หัวหิน ซิตี้ (เพลย์ออฟ), สมุทรสงคราม เอฟซี, ชัยนาท ยูไนเต็ด, ลูกอีสาน, อัสสัมชัญ ยูไนเต็ด, นนทบุรี เอฟซี (ตกชั้น), ชัยนาท ฮอร์นบิล บี
    • โซนกรุงเทพและปริมณฑล 12 ทีม
      • มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด บี, เกร็กคู สายไหม ยูไนเต็ด (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), บีจีซี, มหาวิทยาลัยปทุมธานี, สมุทรปราการ เอฟซี, โคปูน วอร์ริเออร์, โปลิส เทโร เอฟซี บี, แอร์ฟอร์ซ โรบินสัน, มหาวิทยาลัยรังสิต, การท่าเรือ เอฟซี บี, โดม เอฟซี (ตกชั้น)
    • โซนภาคใต้ 8 ทีม
      • คาเด็นซ่า สตูล ยูไนเต็ด (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), ปัตตานี เอฟซี (เพลย์ออฟ), หาดใหญ่ เอฟซี, กระบี่ เอฟซี บี, หาดใหญ่ ซิตี้, สุราษฎร์ธานี ซิตี้, พัทลุง เอฟซี, ชุมพร เอฟซี (ตกชั้น)
    • ไทยลีก 4 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก
      • กลุ่มตอนบน
        • ขอนแก่น ยูไนเต็ด (แชมป์), เมืองเลย ยูไนเต็ด (เพลย์ออฟ), บ้านค่าย ยูไนเต็ด, ยโสธร เอฟซี, จันทบุรี เอฟซี, อุตรดิตถ์ เอฟซี
      • กลุ่มตอนล่าง
        • นครปฐม ยูไนเต็ด (แชมป์), มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ (เพลย์ออฟ), คาเด็นซ่า สตูล ยูไนเต็ด, หัวหิน ซิตี้, เกร็กคู สายไหม ยูไนเต็ด, สพล. สมุทรสาคร ยูไนเต็ด
      • รอบเพลย์ออฟ ชิงตั๋วไทยลีก 3
        • มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ VS เมืองเลย ยูไนเต็ด, ม.นอร์ทกรุงเทพ แข่งชนะ 1 นัด และ เสมอ 1 นัด
      • สรุปทีมเลื่อนชั้น
        • ขอนแก่น ยูไนเต็ด
        • นครปฐม ยูไนเต็ด
        • มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

พ.ศ. 2562

  • ไทยลีก 1 ฤดูกาล 2019
    • มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 16 ทีมสโมสร
      • การท่าเรือ เอฟซี, ชลบุรี เอฟซี, ชัยนาท ฮอร์บิล, เชียงใหม่ เอฟซี, ตราด เอฟซี, ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด, นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, พีที ประจวบ เอฟซี, พีทีที ระยอง, ราชบุรี มิตรผล เอฟซี, สมุทรปราการ ซิตี้ (เปลี่ยนชื่อสโมสรมาจาก พัทยา ยูไนเต็ด), สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด, สุโขทัย เอฟซี, สุพรรณบุรี เอฟซี, เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
    • แชมป์
      • อันดับ 1 - สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด (เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบแบ่งกลุ่ม)
      • อันดับ 2 - บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบคัดเลือก)
    • ตกชั้น (แค่ 2 ทีม เพราะ พีทีที ระยอง พักทีม)
      • อันดับ 15 - ชัยนาท ฮอร์นบิล
      • อันดับ 16 - เชียงใหม่ เอฟซี
    • พักทีม
      • สโมสร พีทีที ระยอง ประกาศพักทีม หลังจบฤดูกาล 2019
  • ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2019
    • มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 18 ทีมสโมสร
      • ตกชั้นมาจากไทยลีก 1
        • บีจี ปทุม ยูไนเต็ด (เปลื่อนชื่อมาจากสโมสร บางกอกกล๊าส เอฟซี), โปลิส เทโร เอฟซี, ราชนาวี, อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด, แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด (เปลี่ยนมาจาก แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล)
      • ทีมจากไทยลีก 2 เดิม
        • เกษตรศาสตร์ เอฟซี, ขอนแก่น เอฟซี, ไทยยูเนียน สมุทรสาคร เอฟซี, ไทยฮอนด้า, ระยอง เอฟซี, ลำปาง เอฟซี, ศรีสะเกษ เอฟซี, หนองบัว พิชญ เอฟซี, อาร์มี่ ยูไนเต็ด, อุดรธานี เอฟซี,
      • เลื่อนชั้นมาจากไทยลีก 3
        • เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด, เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด, อยุธยา ยูไนเต็ด
    • แชมป์ เลื่อนชั้น
      • อันดับ 1 - บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
      • อันดับ 2 - โปลิส เทโร เอฟซี
      • อันดับ 3 - ระยอง เอฟซี
    • ตกชั้น
      • ไม่มีทีมตกชั้น จากตารางคะแนน
    • ปรับตกชั้น
      • สโมสรฟุตบอล อุบล ยูไนเต็ด ให้ไปเล่น ไทยลีก 4 เพราะไม่ผ่านคลับไลเซนซิ่ง
    • พักทีม
      • อันดับ 5 - อาร์มี่ ยูไนเต็ด
      • อันดับ 6 - ไทยฮอนด้า
  • ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2019
    • ไทยลีก 3 ตอนบน 14 ทีม
      • ขอนแก่น ยูไนเต็ด (แชมป์-เลื่อนชั้น), แพร่ ยูไนเต็ด (เพลย์ออฟ), ลำพูน วอร์ริเออร์, อ่างทอง เอฟซี, บางกอก เอฟซี, ฉะเชิงเทรา ไฮเทค, อุบลราชธานี เอฟซี, กำแพงเพชร เอฟซี, เชียงราย ซิตี้, เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด, สระแก้ว เอฟซี, อยุธยา เอฟซี, นาวิกโยธิน ยูไรก้า (ตกชั้น), สีหมอก เอฟซี (ถูกตัดสิทธิ์ ตั้งแต่ก่อนเริ่มการแข่งขัน)
    • ไทยลีก 3 ตอนล่าง 14 ทีม
      • นครปฐม ยูไนเต็ด (แชมป์-เลื่อนชั้น), แกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด (เพลย์ออฟ), นรา ยูไนเต็ด, ตรัง เอฟซี, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, ภูเก็ต ซิตี้, กระบี่ เอฟซี, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, บีทียู ส.บุญมีฤทธิ์ ยูไนเต็ด, นครศรีฯ ยูไนเต็ด, จามจุรี ยูไนเต็ด, ราชประชา, ทหารบก เอฟซี (ตกชั้น), สุราษฎร์ธานี เอฟซี (ตกชั้น)
    • รอบเพลย์ออฟ
      • แพร่ ยูไนเต็ด ทำผลงานได้ดีกว่า แกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด ด้วยผลการแข่งขัน ชนะ 1 นัด และ เสมอ 1 นัด ได้สิทธิเลื่อชั้นไป ไทยลีก 2
    • สรุปทีมเลื่อนชั้น ไปแข่งขัน ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2020
      • ขอนแก่น ยูไนเต็ด
      • นครปฐม ยูไนเต็ด
      • แพร่ ยูไนเต็ด
  • ไทยลีก 4 ฤดูกาล 2019
    • แบ่งการแข่งขันเป็น 6 โซน มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 60 ทีม โดยเป็นทีมจากสำรอง จากไทยลีก1 และ ไทยลีก 2 จำนวน 11 ทีม
      • โซนภาคเหนือ 10 ทีม
        • อุตรดิตถ์ เอฟซี (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), วัดโบสถ์ ซิตี้ (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), แม่โจ้ ยูไนเต็ด, พิษณุโลก เอฟซี, น่าน เอฟซี, นครแม่สอด ยูไนเต็ด, สิงห์บุรี บางระจัน (ตกชั้น), เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด บี, สุโขทัย เอฟซี บี, สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด บี
      • โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 ทีม
        • เมืองเลย ยูไนเต็ด (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), นครราชสีมา ห้วยแถลง ยูไนเต็ด (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), ศรีสะเกษ ยูไนเต็ด, ขอนแก่นมอดินแดง, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, สุรินทร์ซูก้า โขงชีมูล, สุรินทร์ ซิตี้, สกลนคร เอฟซี, มาแชร์ ชัยภูมิ, หนองบัว พิชญ เอฟซี บี, ยโสธร เอฟซี, มหาสารคาม เอฟซี, กาฬสินธุ์ เอฟซี (ตกชั้น)
      • โซนภาคตะวันออก 8 ทีม
        • บ้านค่าย ยูไนเต็ด (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), เกาะขวาง ยูไนเต็ด (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), พัทยา ดีสคอฟเวอร์รี่ ยูไนเต็ด, สายมิตรกบินทร์ ยูไนเต็ด, ปลวกแดง ยูไนเต็ด, จันทบุรี เอฟซี, กองเรือยุทธการ, พานทอง เอฟซี (ตกชั้น)
      • โซนภาคตะวันตก 9 ทีม
        • หัวหิน ซิตี้ (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), ชัยนาท ยูไนเต็ด (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), อัสสัมชัญ ยูไนเต็ด, สระบุรี ยูไนเต็ด, ชัยนาท ฮอร์นบิล บี, สมุทรสงคราม เอฟซี, สพล. สมุทรสาคร ยูไนเต็ด, ลูกอีสาน (ตกชั้น), ราชบุรี มิตรผล เอฟซี บี
      • โซนภาคใต้ 7 ทีม
        • คาเด็นซ่า สตูล ยูไนเต็ด (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), ปัตตานี เอฟซี (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), สุราษฎร์ธานี ซิตี้, หาดใหญ่ ซิตี้, ยาลอ ซิตี้, พัทลุง เอฟซี, เมืองคอน ดับบลิวยู (ตกชั้น)
      • โซนกรุงเทพและปริมณฑล 13 ทีม
        • เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด บี, ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด บี, มหาวิทยาลัยปทุมธานี (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), มหาวิทยาลัยธนบุรี (เข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีก), โปลิส เทโร เอฟซี บี, เกร็กคู สายไหม ยูไนเต็ด, สยาม เอฟซี (เปลี่ยนชื่อมาจาก บีจีซี หรือทีมสำรองของ บางกอกกล๊าส เอฟซี ในอดีต), บ้านคุณแม่, สมุทรปราการ เอฟซี, แอร์ฟอร์ซ โรบินสัน, รังสิต ยูไนเต็ด, มหาวิทยาลัยรังสิต (ตกชั้น), แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด บี
    • ไทยลีก 4 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก
      • ตอนบน
        • วัดโบสถ์ ซิตี้ (เลื่อนชั้น), เมืองเลย ยูไนเต็ด (เลื่อนชั้น), บ้านค่าย ยูไนเต็ด, เกาะขวาง ยูไนเต็ด, อุตรดิตถ์ เอฟซี, นครราชสีมา ห้วยแถลง ยูไนเต็ด
      • ตอนล่าง
        • ปัตตานี เอฟซี (เลื่อนชั้น), มหาวิทยาลัยปทุมธานี (เลื่อนชั้น), หัวหิน ซิตี้, มหาวิทยาลัยธนบุรี, ชัยนาท ยูไนเต็ด, คาเด็นซ่า สตูล ยูไนเต็ด
      • สรุปทีมเลื่อนชั้น
        • วัดโบสถ์ ซิตี้
        • เมืองเลย ยูไนเต็ด
        • ปัตตานี เอฟซี
        • มหาวิทยาลัยปทุมธานี

พ.ศ. 2563 วิกฤต COVID-19 รอบแรก, ยุบไทยลีก 4

  • ไทยลีก 1 ฤดูกาล 2020/21
    • เริ่มต้นแข่งขันวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จบการแข่งขัน 28 มีนาคม 2564 (แข่งขันข้ามปี เนื่องจากติดปัญหาการระบาดของโรค COVID-19) มีทีมสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน 16 ทีม
      • การท่าเรือ เอฟซี, ชลบุรี เอฟซี, ตราด เอฟซี, ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด, นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี, บีจี ปทุม ยูไนเต็ด, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, โปลิส เทโร เอฟซี, พีที ประจวบ เอฟซี, ระยอง เอฟซี, ราชบุรี มิตรผล เอฟซี, สมุทรปราการ ซิตี้, สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด, สุโขทัย เอฟซี, สุพรรณบุรี เอฟซี และ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
      • แชมป์ ไทยลีก ฤดูกาล 2020/21
        • อันดับ 1 บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
        • อันดับ 2 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
        • อันดับ 3 การท่าเรือ เอฟซี
      • ทีมตกชั้น ไทยลีก ฤดูกาล 2020/21
        • อันดับ 14 สุโขทัย เอฟซี
        • อันดับ 15 ตราด เอฟซี
        • อันดับ 16 ระยอง เอฟซี
  • ทีมได้สิทธิแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก (AFC Champions League) เนื่องจากการแข่งขัน ไทยลีก ฤดูกาล 2020/21 เป็นการแข่งขันแบบข้ามปี เพราะปัญหาโรคระบาด COVID-19 ทำให้ไม่สามารถหาแชมป์ของรายการได้ รวมถึง ไม่สามารถจัดการแข่งขัน ไทยเอฟเอคัพ สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ จึงทำเรื่องไปถึงฝ่ายจัดการแข่งขัน AFC เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาล 2021 และ 2022 ดังนี้
    • สโมสรไทย ที่เข้าร่วม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก 2021 ได้แก่ ทีมอันดับ 1-4 เมื่อแข่งขัน ไทยลีก ฤดูกาล 2020/21 จบครึ่งฤดูกาล โดยทีมอันดับ 1-2 ได้สิทธิเข้ารอบแบ่งกลุ่ม และ ทีมอันดับ 3-4 ได้สิทธิเข้าแข่งขันรอบคัดเลือก
      • อันดับ 1 บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
      • อันดับ 2 การท่าเรือ เอฟซี
      • อันดับ 3 สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด
      • อันดับ 4 ราชบุรี มิตรผล เอฟซี
    • อย่างไรก็ตาม ด้วยปัญหาของโรค COVID-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้ทีมจากประเทศจีนหลายสโมสรถอดทีมออกจากการแข่งขัน รวมถึงสโมสรจากประเทศออสเตรเลีย ทำให้ ทีมสโมสรฟุตบอลของประเทศไทย ทั้ง 4 สโมสร ได้สิทธิเข้าแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก 2021 รอบแบ่งกลุ่ม ทั้งหมด
    • ผลการแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก 2021 ทีมสโมสรจากประเทศไทย ทำผลงานผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย ได้เพียงสโมสรเดียว นั่นคือ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
    • สโมสรไทย ที่เข้าร่วม เอฟเอซี แชมเปี้ยนส์ ลีก 2022 ได้แก่ ทีมอันดับ 1-3 จากการแข่งขันไทยลีก 2020/21 และ แชมป์ ไทยเอฟเอคัพ 2021
      • แชมป์ ไทยลีก 2020/21 - บีจี ปทุม ยูไนเต็ด (รอบแบ่งกลุ่ม)
      • อันดับ 2 - บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (รอบคัดเลือก)
      • อันดับ 3 - การท่าเรือ เอฟซี (รอบคัดเลือก)
      • แชมป์ ไทยเอฟเอคัพ 2020 - สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด (รอบแบ่งกลุ่ม)
  • ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2020/21
    • เริ่มต้นการแข่งขัน 14 กุมภาพันธ์ 2563 จบการแข่งขัน 31 มีนาคม 2564 (แข่งขันข้ามปี เพราะโรคระบาด COVID-19) มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 18 ทีมสโมสร
      • เกษตรศาสตร์ เอฟซี, แกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด, ขอนแก่น เอฟซี, ขอนแก่น ยูไนเต็ด, ชัยนาท ฮอร์นบิล, เชียงใหม่ เอฟซี, เชียงใหม่ ยูไนเต็ด (เปลี่ยนชื่อสโมสรจาก เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด), นครปฐม ยูไนเต็ด, แพร่ ยูไนเต็ด, ราชนาวี, ลำปาง เอฟซี, ศรีสะเกษ เอฟซี, ไทยยูเนียน สมุทรสาคร เอฟซี, หนองบัว พิชญ เอฟซี, อยุธยา ยูไนเต็ด, อุดรธานี เอฟซี (ซื้อสิทธิมาจากสโมสร แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด), อุทัยธานี เอฟซี, เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด
      • แชมป์ ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2020/21
        • อันดับ 1 - หนองบัว พิชญ เอฟซี (เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก)
        • อันดับ 2 - เชียงใหม่ ยูไนเต็ด (เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก)
      • รอบเพลย์ออฟ หาทีมเลื่อนชั้น
        • อันดับ 3 - นครปฐม ยูไนเต็ด
        • อันดับ 4 - ขอนแก่น ยูไนเต็ด
        • อันดับ 5 - แพร่ ยูไนเต็ด
        • อันดับ 6 - ชัยนาท ฮอร์นบิล
        • ผลการแข่งขัน รอบเพลย์ออฟ "ขอนแก่น ยูไนเต็ด" คว้าสิทธิเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2021/22
      • ทีมตกชั้น ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2020/21
        • อันดับ 16 - ศรีสะเกษ เอฟซี
        • อันดับ 17 - อุทัยธานี เอฟซี
        • อันดับ 18 - ไทยยูเนียน สมุทรสาคร เอฟซี
  • ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2020/21
    • การแข่งขันฟุตบอลอาชีพ ลำดับที่ 3 โดยในฤดูกาล 2020 ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 ทำให้ฝ่ายจัดการแข่งขัน ได้ประกาศได้ยุบรวม ไทยลีก 4 เข้ามาแข่งขันใน ไทยลีก 3 ด้วย ทำให้มีสโมสรเข้าร่วมทั้งสิ้น 72 สโมสร และปรับรูปแบบการแข่งขันเป็น มินิลีก ในระดับภูมิภาค
    • รูปแบบการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 6 โซน (คล้ายลีกภูมิภาคในอดีต)
      • โซนภาคเหนือ
      • โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      • โซนภาคตะวันออก
      • โซนภาคตะวันตก
      • โซนภาคใต้
      • โซนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
    • การคัดเลือกหาทีมได้สิทธิเลื่อนชั้น ไปสู่ไทยลีก 2
      • อันดับ 1-2 ของแต่ละโซน รวม 12 ทีม จะเข้าสู่การแข่งขัน รอบแชมเปี้ยนลีก โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ 6 ทีม แข่งขันเพื่อหาทีมแชมป์ โดยจะได้สิทธิเลื่อนชั้น และทีมอันดับ 2 ของแต่ละกลุ่ม จะแข่งขันเพลย์ออฟ เพื่อหาอันดับ 3 ในการเลื่อนชั้นไปสู่ไทยลีก 2 ต่อไป
    • ปัญหาโรคระบาด COVID-19 ทำให้แข่งขันไม่จบในฤดูกาลปกติ ใช้อันดับ ณ เวลานั้นในการตัดสิน อันดับ 1-2 ของแต่ละโซน
      • โซนภาคเหนือ แข่ง 15 นัด จาก 20 นัด
        • อันดับ 1 - ลำพูน วอริเออร์
        • อันดับ 2 - แม่โจ้ ยูไนเต็ด (เพลย์ออฟ)
        • อันดับ 3 - พิษณุโลก เอฟซี (เพลย์ออฟ) ชนะได้สิทธิแข่งขัน รอบแชมเปี้ยนส์ลีก
      • โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แข่ง 15 นัด จาก 20 นัด
        • อันดับ 1 - อุดร ยูไนเต็ด
        • อันดับ 2 - เมืองเลย ยูไนเต็ด
      • โซนภาคตะวันออก แข่ง 17 นัด จาก 22 นัด
        • อันดับ 1 - ปลวกแดง ยูไนเต็ด
        • อันดับ 2 - ฉะเชิงเทรา ไฮ-เทค เอฟซี
      • โซนภาคตะวันตก แข่ง 17 นัด จาก 22 นัด
        • อันดับ 1 - เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด
        • อันดับ 2 - ราชประชา
      • โซนภาคใต้ แข่ง 16 นัด จาก 22 นัด
        • อันดับ 1 - สงขลา เอฟซี
        • อันดับ 2 - กระบี่ เอฟซี
      • โซนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แข่ง 20 นัด จาก 26 นัด
        • อันดับ 1 - มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
        • อันดับ 2 - นนทบุรี ยูไนเต็ด (เพลย์ออฟ)
        • อันดับ 3 - บางกอก เอฟซี (เพลย์ออฟ) ชนะได้สิทธิแข่งขัน รอบแชมเปี้ยนส์ลีก
      • รอบแชมเปี้ยนส์ลีก
        • โซนบน
          • อันดับ 1 - ลำพูน วอริเออร์ (เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2)
          • อันดับ 2 - อุดร ยูไนเต็ด (เพลย์ออฟ)
        • โซนล่าง
          • อันดับ 1 - เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด (เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2)
          • อันดับ 2 - ราชประชา (เพลย์ออฟ)
        • รอบเพลย์ออฟ
          • สโมสร ราชประชา เอาชนะ อุดร ยูไนเต็ด 2-1 ได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2
      • สรุปทีมเลื่อนชั้น จากไทยลีก 3 ฤดูกาล 2020/21 ไปสู่ ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2021/22
        • ลำพูน วอริเออร์
        • เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด
        • ราชประชา

พ.ศ. 2564 วิกฤต COVID-19 รอบที่สอง (สำหรับฟุตบอลไทย)

การแข่งขันฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ฤดูกาล 2021/22 เริ่มแข่งขันวันศุกร์ 3 กันยานยน 2564

ระบบการแข่งขัน

  • ไทยลีก 1 ฤดูกาล 2021/22
    • มีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน 16 ทีม
      • การท่าเรือ เอฟซี, ขอนแก่น ยูไนเต็ด, ชลบุรี เอฟซี, เชียงใหม่ ยูไนเต็ด, ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด, นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี, บีจี ปทุม ยูไนเต็ด, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, โปลิส เทโร เอฟซี, พีที ประจวบ เอฟซี, ราชบุรี มิตรผล เอฟซี, สมุทรปราการ ซิตี้, สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด, สุพรรณบุรี เอฟซี, หนองบัว พิชญ เอฟซี, เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
    • ตกชั้น 3 ทีม
  • ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2021/22
    • มีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน 18 ทีม
      • เกษตรศาสตร์ เอฟซี, แกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด, ขอนแก่น เอฟซี, คัสตอม ลาดกระบัง ยูไนเต็ด (เปลี่ยนชื่อสโมสรมาจาก เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด), ชัยนาท ฮอร์นบิล, เชียงใหม่ เอฟซี, ตราด เอฟซี, นครปฐม ยูไนเต็ด, แพร่ ยูไนเต็ด, เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด, ระยอง เอฟซี, ราชนาวี, ราชประชา, ลำปาง เอฟซี, ลำพูน วอร์ริเออร์, สุโขทัย เอฟซี, อยุธยา ยูไนเต็ด, อุดรธานี เอฟซี
    • เลื่อนชั้น 3 ทีม
    • ตกชั้น 3 ทีม
  • ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2021/22
    • แบ่งการแข่งขันเป็น 6 โซน
      • โซนภาคเหนือ
      • โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      • โซนภาคตะวันออก
      • โซนภาคตะวันตก
      • โซนภาคใต้
      • โซนกรุงเทพและปริมณฑล
    • รอบแชมเปี้ยนส์ลีก
      • กลุ่มตอนบน
        • แชมป์-รองแชมป์ ของ โซนภาคเหนือ, โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,โซนภาคตะวันออก
      • กลุ่มตอนล่าง
        • แชมป์-รองแชมป์ ของ โซนตะวันตก, โซนภาคใต้, โซนกรุงเทพและปริมณฑล
      • แชมป์ของแต่ละกลุ่ม ได้เลื่อนชั้น, รองแชมป์ของแต่ละกลุ่มมาเตะเพลย์ออฟหาทีมได้สิทธิเลื่อนชั้น
    • เลื่อนชั้น 3 ทีม
    • ตกชั้น 6 ทีม (อันดับสุดท้ายของแต่ละโซน)

 

(อัพเดท 24 กันยายน 2564)


ข้อมูลบางส่วนจากเว็บไซต์ wikipedia.org